ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1)สิทธิบัตร (2) เครื่องหมายการค้า (3) แบบผังภูมิของวงจรรวม (4) ความลับทางการค้า และ (5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่ เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่ง จับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอม ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรง สิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจด ทะเบียน
ตัวอย่างลิขสิทธิ์

เค รื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพสิ่งประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน โดยมีกฎหมายที่คุ้มครอง คือ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543
ประเภทเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครอง
กฎหมายเครื่องหมายการค้า ให้ความคุ้มครองเครื่องหมาย 4 ประเภท ได้แก่
- เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้า ที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
- เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรอจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้น แตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
- เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้นหรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพคุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
- เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเจ้าของเครื่อง หมายการค้า จะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้นไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543
ประโยชน์ของเครื่องหมายการค้า
สำหรับประโยชน์ของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถพิจารณาได้หลักๆ 2 ด้าน คือ
- ด้านเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ในการที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำหรือเรียก ขานสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะเพื่อเลือกซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่อง หมายการค้านั้นได้ และไม่สับสนกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ๆ
- ด้านผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการ ค้านั้นจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นและเครื่องหมายการค้าจะทำให้ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพตามต้องการ รวมทั้งทราบถึงตัวเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย
ทั้งนี้ผลจากการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อาจมองได้ 2 ส่วน คือ
- เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จด ทะเบียนนั้นแต่จะฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกค่าเสียหายไม่ได้เว้นแต่จะเป็นกรณีลวงขาย
- เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้า กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้และในกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการ ค้าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วนั้น มีสิทธิที่จะฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายได้ และในกรณีที่มีผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจด ทะเบียนเจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการ ค้านั้นได้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โดยทั่ว ๆ ไปก่อนการยื่นขอจดทะเบียน ผู้ที่ต้องการขอจดทะเบียนควรที่จะขอตรวจค้นดูที่สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่ามีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย การค้าของตนหรอไม่ถ้ามีเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ก็ไม่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ต้องการจดทะเบียนได้อีก
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะจดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
- มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อสินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น เป็นรูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
- ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จะจดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่ง กำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจาก คำเสียงเรียกขาน รูปหรือภาพและการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อจะครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราว ๆ คราวละ 10 ปี
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
- คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง หรือคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายร่วมตามประเภทเครื่องหมายที่จะจดทะเบียน พร้อมสำเนารวม 5 ชุด โดยให้การกรอกข้อความต่าง ๆ ในคำขอจดทะเบียน ปิดรูปเครื่องหมายพร้อมลงชื่อ และถ่ายสำเนาจากคำขอจดทะเบียนที่ได้กรอกข้อความปิดรูปและลงชื่อแล้ว จำนวน 5 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางในกรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา
- หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับปัจจุบัน โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรองตามกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองนั้น ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือแต่งตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- รูปเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับที่ปิดลงในคำขอจดทะเบียนอีกจำนวน 5 รูป
- หลักฐานนำสืบลักษณะบ่งเฉพาะ หรือหนังสือขอผ่อนผันการนำส่งหลักฐานดังกล่าว (ถ้ามี) เช่น หลักฐานที่แสดงว่าได้มีการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่จด ทะเบียนนั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายแล้วว่าใครเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่จะจดทะเบียนนั้น
การยื่นคำขอเครื่องหมายการค้าสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
- ยื่นขอโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอเครื่องหมายการค้าได้ที่ www.tlo.rmutt.ac.th และส่งคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยจัดการทรัพย์สิน ทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
การชำระค่าธรรมเนียมคำขอเครื่องหมายการค้าได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
- ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับจำนวนรายการสินค้าหรือบริการที่จะจดทะเบียนซึ่งจะ ต้องชำระค่าธรรมเนียมสินค้า/บริการอย่างละ 500 บาท
- ขั้นตอนการรับจดทะเบียน โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียม ภายหลังจากครบกำหนดการประกาศโฆษณาและไม่มีผู้คัดค้านการจดทะเบียนโดยผู้ขอจะ ต้องชำระค่าธรรมเนียมตามจำนวนสินค้า/บริการอย่างละ 300 บาท
ขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้านั้น สามารถสรุปเป็นแผนภูมิได้ ต่อไปนี้
ตัวอย่างเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ (Service Mark)
เครื่อง
หมายบริการ (Service Mark) คือ
เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการเพื่อแสดงให้เห็นว่า
บริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากบริการของผู้อื่น
โดยบริการอาจจะเป็นบริการด้านการเงิน บริการด้านสายการบิน
บริการการท่องเที่ยว บริการโรงแรม และบริการโฆษณา เป็นต้น
ตัวอย่างของเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียน เช่น เครื่องหมายการบินไทย
เครื่องหมายธนาคารกรุงเทพ หรือเครื่องหมายโรงแรมเอราวัณ เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องหมายบริการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น